เมื่อวันที่19พ.ค. ที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีวันคล้ายวันสถาปนา กทท. ครบรอบ71ปีว่า กทท. เป็น1ใน10รัฐวิสาหกิจ ที่มีผลประกอบการดี นำเงินรายไดเข้ารัฐสูงสุด ซึ่งที่ผ่านมาแม้ว่าต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19แต่สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้การบริหารงานหลังจากนี้ ต้องนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนปัญญาประดิษฐ์ (AI)มาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นอกจากนี้มอบให้ กทท. เตรียมพร้อมรองรับโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ระยะ (เฟส) ที่3ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)ที่จะแล้วเสร็จในปี68ด้วย
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า กททคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ต้องเร่งเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งบุคลากร เทคโนโลยี และเครื่องมือต่างๆ เพราะเมื่อโครงการแหลมฉบัง เฟสที่3แล้วเสร็จ จะมีขีดความสามารถในการรองรับการขนถ่ายตู้สินค้าเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก1เท่าตัว หรือประมาณ18ล้านTEU ต่อปี ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ตนยังไม่รู้ว่าจะไปอยู่ตรงไหน แต่ก็ขอให้ กทท. ตั้งใจทำสิ่งเหล่านี้แปรไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป นอกจากนี้ได้มอบให้ กทท. เตรียมความพร้อมรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) โดยให้ศึกษาต่อยอดเกี่ยวกับการทำธุรกิจหลังท่า อาทิ การซ่อมบำรุง และโรงจอด ตลอดจนศึกษารูปแบบการลงทุน ซึ่งจะลงทุนเองทั้งหมด หรือลงทุนร่วมกับเอกชนก็ได้ แต่ผลประโยชน์ต้องตกอยู่กับประเทศมากที่สุด
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า เมื่อโครงการแลนด์บริดจ์ เฟสที่ 1 แล้วเสร็จในปี 72 จะมีปริมาณเรือขนส่งสินค้า ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นลำ จากนั้นจะเติบโตมากขึ้นถึง 8-9 หมื่นลำต่อปี เบื้องต้นขณะนี้พิจารณาแล้วว่าท่าเรือที่เหมาะสมที่สุดฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง คือ พื้นที่แหลมอ่าวอ่าง และฝั่งอ่าวไทย จังหวัดชุมพร คือ พื้นที่แหลมริ่ว เนื่องจากพื้นที่ทั้ง 2 ฝั่ง เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถรองรับปริมาณสินค้าได้ 20 ล้าน TEU รวมทั้งยังสามารถขยายท่าเรือในอนาคตให้สามารถรองรับปริมาณสินค้าได้มากถึง 40 ล้าน TEU เทียบเท่ากับปริมาณสินค้าที่ท่าเรือสิงคโปร์ในปัจจุบัน และเชื่อว่าเมื่อระยะที่ 2 แล้วเสร็จ จะมีเรือขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เวลานี้จึงต้องเตรียมธุรกิจหลังท่า ซึ่งเป็นธุรกิจต่อเนื่องในการขนส่งสินค้าไว้ให้ดี
นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า การศึกษาเรื่องการทำธุรกิจหลังท่า หาก กทท. เห็นว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่ตอบโจทย์ และไม่เป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะ พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งได้จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี 2494 ก็ควรสังคายนาให้มีความทันสมัยต่อการบริหารงาน รวมทั้งก้าวทันความทันสมัยของโลกด้วย อย่างไรก็ตามเรื่องการปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ที่ล้าสมัยนั้น ไม่ใช่เพียงเฉพาะหน่วยงาน กทท. เท่านั้น แต่นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ทุกกระทรวงพิจารณาเรื่องดังกล่าวด้วย โดยปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ก็อยู่ระหว่างการพิจารณากฎหมายแต่ละฉบับอยู่.